การปฏิวัติฝรั่งเศส

การปฏิวัติฝรั่งเศส

ปัญหาในหน้า
การปฏิวัติฝรั่งเศส (ฝรั่งเศสRévolution française) ระหว่าง ค.ศ. 1789-1799 เป็นยุคสมัยแห่งกลียุค (upheaval) ทางสังคมและการเมืองที่เปลี่ยนถึงรากฐานในฝรั่งเศสซึ่งมีผลกระทบใหญ่หลวงต่อฝรั่งเศสและยุโรปที่เหลือ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ปกครองฝรั่งเศสมาหลายศตวรรษล่มสลายลงใน 3 ปี สังคมฝรั่งเศสผ่านการปฏิรูปขนาดใหญ่ โดยเอกสิทธิ์ในระบบเจ้าขุนมูลนาย ของอภิชนและทางศาสนาถูกกำจัดหมดสิ้นไปภายใต้การประทุษร้ายอย่างต่อเนื่องจากกลุ่มการเมืองฝ่ายสาธารณรัฐมูลวิวัติ (radical republicanism) ฝูงชนบนท้องถนน และชาวนาในชนบท[1] แนวคิดดั้งเดิมที่เกี่ยวกับจารีตประเพณีและลำดับชั้นบังคับบัญชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งอำนาจและฐานันดรของพระมหากษัตริย์ อภิสิทธิชน และนักบวชในศาสนา ถูกโค่นล้มอย่างฉับพลัน และถูกแทนที่โดยอุดมคติของความเสมอภาคความเป็นพลเมือง และสิทธิที่ไม่อาจถูกพรากได้(inaleinable rights) อันเป็นหลักการใหม่แห่งยุคเรืองปัญญา การปฏิวัติฝรั่งเศสก่อให้เกิดผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อทิศทางของประวัติศาสตร์สมัยใหม่ นำไปสู่ความเสื่อมของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ทั่วโลก นักประวัติศาสตร์ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า การปฏิวัติฝรั่งเศส เป็นเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดเหตุการณ์หนึ่งในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ
การปฏิวัติฝรั่งเศส
การทลายคุกบัสตีย์ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1789

ผู้ร่วมสังคมฝรั่งเศส
สถานที่ราชอาณาจักรฝรั่งเศส
วันที่ค.ศ. 1789 – 1799
ผลลัพธ์
  • การยุบเลิกพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส
  • การสถาปนาสาธารณรัฐประชาธิปไตยและฆราวาสนิยมซึ่งกลายเป็นอำนาจนิยมและแสนยนิยมมากขึ้น
  • การเปลี่ยนแปลงมูลวิวัติทางสังคมซึ่งอาศัยชาตินิยม ประชาธิปไตย และหลักความเป็นพลเมืองและสิทธิที่ไม่โอนให้กันได้แห่งยุคเรืองปัญญา
  • การเถลิงอำนาจของนโปเลียน โบนาปาร์ต
  • ความขัดแย้งด้วยอาวุธกับประเทศยุโรปอื่น
ประเทศฝรั่งเศส
Armoiries république française.svg
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ:
ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส


ประเทศอื่นๆ · แผนที่
การปฏิวัติฝรั่งเศสเริ่มต้นใน ค.ศ. 1789 ด้วยการเรียกประชุมสภาฐานันดรในเดือนพฤษภาคม ในปีแรกของการปฏิวัติ เกิดเหตุการณ์สมาชิกฐานันดรที่สามประกาศคำปฏิญาณสนามเทนนิสในเดือนมิถุนายน การทลายคุกบัสตีย์ในเดือนกรกฎาคม คำประกาศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมืองในเดือนสิงหาคม และการเดินขบวนสู่แวร์ซายซึ่งบังคับให้ราชสำนักกลับไปยังกรุงปารีสในเดือนตุลาคม เหตุการณ์อีกไม่กี่ปีถัดมาส่วนใหญ่เป็นความตึงเครียดระหว่างสมัชชาเสรีนิยมต่าง ๆ และพระมหากษัตริย์ฝ่ายขวาแสดงเจตนาขัดขวางการปฏิรูปใหญ่
มีการประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐในเดือนกันยายน ค.ศ. 1792 และพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงถูกประหารชีวิตในปีถัดมา ภัยคุกคามจากนอกประเทศยังมีบทบาทครอบงำในพัฒนาการของการปฏิวัติ สงครามปฏิวัติฝรั่งเศสเริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1792 และสิ้นสุดลงด้วยชัยชนะของฝรั่งเศสที่อำนวยการพิชิตคาบสมุทรอิตาลี กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำและดินแดนส่วนใหญ่ทางตะวันตกของแม่น้ำไรน์ อันเป็นความสำเร็จซึ่งรัฐบาลฝรั่งเศสแต่ก่อนทำไม่ได้มาหลายศตวรรษ
ส่วนในประเทศ อารมณ์ของประชาชนได้เปลี่ยนการปฏิวัติถึงรากฐานอย่างสำคัญ จนลงเอยด้วยการขึ้นสู่อำนาจของมักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์และกลุ่มฌากอแบ็ง (Jacobins) และเผด็จการโดยแท้โดยคณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวมระหว่างสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว ตั้งแต่ ค.ศ. 1793 ถึง 1794 ซึ่งมีผู้ถูกสังหารถึงระหว่าง 16,000 ถึง 40,000 คน[2] หลังกลุ่มฌากอแบ็งเสื่อมอำนาจและรอแบ็สปีแยร์ถูกประหารชีวิต คณะดิเร็กตัวร์(Directoire) เข้าควบคุมรัฐฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1795 และถืออำนาจถึง ค.ศ. 1799 เมื่อถูกแทนที่ด้วยคณะกงสุล (Consulat) ภายใต้การนำของนโปเลียน โบนาปาร์ต
การปฏิวัติฝรั่งเศสนำมาซึ่งยุคใหม่ของฝรั่งเศส การเติบโตของระบอบสาธารณรัฐและประชาธิปไตยเสรีนิยม การแผ่ขยายของลัทธิฆราวาสนิยม การพัฒนาอุดมการณ์สมัยใหม่ และการปรากฏขึ้นของสงครามเบ็ดเสร็จ[3] ทั้งหมดล้วนเกิดขึ้นระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส เหตุการณ์สืบเนื่องสำคัญหลังจากการปฏิวัติฝรั่งเศส ได้แก่ สงครามนโปเลียน การฟื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์ถัดมาอีกสองวาระต่างหากจากกัน และการปฏิวัติอีกสองครั้ง (ค.ศ. 1830 และ 1848) ขณะที่ฝรั่งเศสสมัยใหม่ก่อร่างขึ้น

สาเหตุแก้ไข

มูลเหตุของการปฏิวัติฝรั่งเศสมีความซับซ้อนและยังเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักประวัติศาสตร์ นักประวัติศาสตร์ชี้ไปที่เหตุการณ์ และปัจจัยภายในต่างๆของระบอบเก่า (Ancien Régime) จำนวนหนึ่ง ว่าเป็นปัจจัยที่นำไปสู่การปฏิวัติ ปัจจัยทางเศรษฐกิจรวมถึงความหิวโหยและทุพโภชนาการในประชากรกลุ่มที่ยากแค้นที่สุด อันเนื่องมาจากราคาขนมปังที่สูงขึ้น หลังจากการเก็บเกี่ยวธัญพืชที่ให้ผลไม่ดีหลายปีติดต่อกัน ซึ่งบางส่วนเกิดจากสภาพอากาศผิดปกติจากสภาพความหนาวเย็นผิดฤดู ร่วมกับพฤติการณ์ภูเขาไฟที่ลากีและกริมสวอทน์ใน ค.ศ. 1783-1784 ประกอบกับราคาอาหารที่สูงขึ้น และระบบการขนส่งที่ไม่เพียงพอซึ่งขัดขวางการส่งสินค้าอาหารปริมาณมากจากพื้นที่ชนบทไปยังศูนย์กลางประชากรขนาดใหญ่มีส่วนทำให้สังคมฝรั่งเศสขาดเสถียรภาพในช่วงก่อนการปฏิวัติอย่างยิ่ง
สาเหตุอีกประการหนึ่งคือ ภาวะใกล้จะล้มละลายของรัฐบาลจากค่าใช้จ่ายในสงครามที่ฝรั่งเศสเข้าร่วมรบจำนวนมหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งสงครามเจ็ดปี และสงครามปฏิวัติอเมริกา สงครามใหญ่เหล่านี้ก่อหนี้จำนวนมหาศาลให้แก่รัฐบาลฝรั่งเศส ซึ่งสถานการณ์ยิ่งเลวร้ายลงจากการสูญเสียการครอบครองพื้นที่อาณานิคมของฝรั่งเศสในทวีปอเมริกาเหนือ และการครอบงำทางพาณิชย์ของบริเตนใหญ่ที่เพิ่มขึ้น ทั้งระบบการเงินที่ไม่มีประสิทธิภาพและล้าสมัยของฝรั่งเศสก็ไม่สามารถจัดการกับหนี้สาธารณะได้ ทางรัฐบาลพยายามจะแก้ไขสถานการณ์ทางการเงินด้วยการเก็บภาษีเพิ่ม แต่ลักษณะการเก็บภาษีเป็นแบบถดถอย (regressive) กล่าวคือยิ่งมีรายได้มากภาระการจ่ายภาษียิ่งลดลง วิธีการเก็บภาษีดังกล่าวนอกจากจะล้าสมัยแล้ว ยังทวีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมเพิ่มขึ้นไปอีก[4][5]
สำหรับปัจจัยทางการเมือง เจอร์เกน ฮาเบอร์มาสนักปรัชญาชาวเยอรมันอธิบายว่าเป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงของ "พื้นที่สาธารณะ" ที่กำลังเกิดขึ้นในฝรั่งเศสและยุโรปในช่วง ศ.ที่ 18[6] โดยก่อนหน้านี้ (ศตวรรษที่ 17) ฝรั่งเศสมีจารีตประเพณีการปกครองที่แยกชนชั้นปกครองออกจากชนชั้นที่ถูกปกครองอย่างชัดเจน ฝ่ายชนชั้นปกครองของฝรั่งเศสเป็นผู้ยึดกุมพื้นที่สาธารณะอย่างสิ้นเชิง และมุ่งจะแสดงออกถึงอำนาจทางการเมืองผ่านทางวัตถุ โดยการสร้างสิ่งก่อสร้างสาธารณะที่ใหญ่โต หรูหรา และมีราคาแพง เช่น พระราชวังแวร์ซาย ซึ่งถูกสร้างให้อาคันตุกะต้องมนต์ของความงดงามอลังการ และเพื่อเป็นการแสดงออกซึ่งอำนาจที่เกรียงไกรของราชอาณาจักรฝรั่งเศสในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แต่พอถึงศตวรรษที่ 18 ประชาชนเริ่มมีความตื่นตัวทางการเมืองมากขึ้น การรู้หนังสือในหมู่ราษฎรมีเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ธุรกิจเอกสารสิ่งพิมพ์มีความคึกคัก มีการพบปะพูดคุยและเปลี่ยนความคิดเห็นและข่าวสารตามร้านกาแฟ ร้านหนังสือพิมพ์ และโรงช่างฝีมือในกรุงปารีส จนเกิดเป็นพื้นที่สาธารณะนอกการควบคุมของรัฐ และมีศูนย์กลางอยู่ที่ปารีสแทนที่จะเป็นแวร์ซาย
เพื่อหาเงินใหม่เพื่อดักการผิดนัดชำระหนี้การกู้ยืมของรัฐบาล พระมหากษัตริย์จึงทรงยกเลิกสภาชนชั้นสูง (Assemblée des notables) ใน ค.ศ. 1787

การปฏิวัติแก้ไข

การประชุมสภาฐานันดรแก้ไข

ค.ศ. 1789 พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงเรียกประชุมสภาฐานันดร ซึ่งมีการประชุมครั้งล่าสุดในปี ค.ศ. 1614 ก่อนหน้าการประชุม ได้มีการถวายฎีกาทั่วประเทศ มีการควบคุมและห้ามการเผยแพร่ใบปลิวที่มีเนื้อหาเสรีจนน่าจะเป็นอันตราย ฌัก แนแกร์ ที่ถูกเรียกกลับมาดำรงตำแหน่งในปี พ.ศ. 2331 ได้เรียกร้องให้มีการเพิ่มจำนวนตัวแทนจากชนชั้นที่ 3 ให้มากขึ้นเป็น 2 เท่า เพราะจำนวนตัวแทนในขณะนั้นมีน้อยเกินไป และเขายังเรียกร้องให้ปลดตัวแทนบางส่วนจากฐานันดรที่ 1 และ 2 ด้วย
การประชุมมีขึ้นที่พระราชวังแวร์ซายในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2332 การประชุมครั้งนี้ใช้ระบบลงคะแนนคือ 1 ฐานันดรต่อ 1 เสียง ซึ่งไม่ยุติธรรม เพราะฐานันดรที่สามซึ่งมีจำนวนถึง 90% ของประชากรกลับได้คะแนนเสียงเพียง 1 ใน 3 ของสภา และวิธีการลงคะแนนนี้จะทำให้ฐานันดรที่สามไม่มีทางมีเสียงเหนือกว่า 2 ฐานันดรแรก โดยเสนอให้ลงคะแนนแบบ 1 คน 1 เสียงแทน เมื่อข้อเสนอนี้ถูกปฏิเสธ ทำให้ตัวแทนฐานันดรที่ 3 ไม่พอใจเป็นอย่างมากจึงไม่เข้าร่วมการประชุม และไปตั้งสภาของตนเอง เรียกว่า สมัชชาแห่งชาติ ซึ่งเปิดประชุมเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ปีเดียวกัน สภานี้ยังมีตัวแทนจากฐานันดรที่ 1 และที่ 2 บางส่วนเข้าร่วมประชุมด้วย ได้แก่ตัวแทนส่วนใหญ่ของชนชั้นนักบวช และตัวแทนที่เป็นขุนนางหัวสมัยใหม่นำโดยมิราโบ[ต้องการอ้างอิง]
สมัชชาแห่งชาตินี้ ประกาศว่า สภาของตนเท่านั้นที่มีสิทธิ์ขึ้นภาษี เนื่องจากไม่ไว้วางใจการทำงานของรัฐบาลของพระเจ้าหลุยส์ ที่สนับสนุนแต่ขุนนางและพระ พระเจ้าหลุยส์พยายามหาทางประนีประนอมโดยเสนอว่าจะจัดประชุมสภาฐานันดรขึ้นอีก พวกขุนนางและพระตอบตกลง แต่สมาชิกสมัชชาแห่งชาติปฏิเสธที่จะเข้าร่วมประชุม โดยไปจัดการประชุมของตัวเองขึ้นที่สนามเทนนิส ในวันที่ 20 มิถุนายน โดยมีมติว่าจะไม่ยุบสภานี้จนกว่าประเทศฝรั่งเศสจะได้รัฐธรรมนูญ เรียกว่า คำปฏิญาณสนามเทนนิส

เปิดฉากการปฏิวัติแก้ไข

หลังจากที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ถูกกดดันจากกองทัพ พระองค์ก็ทรงเรียกร้องให้ตัวแทนจาก 2 ฐานันดรแรกเข้าร่วมประชุมสภาสมัชชาแห่งชาติด้วยเพื่อร่างรัฐธรรมนูญ ทำให้เกิดสภาใหม่ในวันที่ 9 กรกฎาคม คือ สภาร่างรัฐธรรมนูญ

การทลายคุกบัสตีย์แก้ไข

ดูบทความหลักที่: การทลายคุกบัสตีย์
ทว่า หลังจากนั้นไม่นาน พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศสก็ได้รับการกดดันอีกครั้งจากพระนางมารี อ็องตัวแน็ต และพระอนุชาของพระองค์ คือ เคานต์แห่งอาร์ตัว (Comte d'Artois) ซึ่งจะได้เป็นพระเจ้าชาร์ลที่ 10 แห่งฝรั่งเศสในอนาคต ทำให้พระองค์ทำการเรียกกองทหารที่จงรักภักดีต่อพระองค์จากต่างประเทศเข้ามาประจำการในกรุงปารีสและพระราชวังแวร์ซาย ทำให้เกิดความโกรธแค้นในหมู่ประชาชน นอกจากนี้พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ยังทรงปลดแนแกร์ลงจากตำแหน่งอีกครั้ง ทำให้ประชาชนออกมาก่อจลาจลเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม และทลายคุกบัสตีย์ ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ได้ในวันที่ 14 กรกฎาคม
หลังจากนั้นพระเจ้าหลุยส์ก็เรียกแนแกร์มาดำรงตำแหน่งอีกครั้งในวันที่ 16 กรกฎาคม แนแกร์ได้พบกับประชาชนที่ศาลาว่าการกรุงปารีส (l'Hôtel de Ville) ซึ่งถูกประดับไปด้วยธงสามสีคือแดง ขาว น้ำเงิน วันเดียวกันนั้น เคานต์แห่งอาร์ตัวก็ได้ทรงหนีออกนอกประเทศ ถือเป็นพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์แรก ๆ ที่หนีออกนอกประเทศในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส
หลังจากนั้นไม่นาน เทศบาลและกองกำลังติดอาวุธของประชาชน (Garde Nationale) ก็ได้ถูกตั้งขึ้นอย่างรีบเร่งโดยประชาชนชาวปารีส ในไม่ช้าทั่วประเทศก็มีกองกำลังติดอาวุธของประชาชนตามอย่างกรุงปารีส กองกำลังนี้อยู่ใต้การบัญชาการของนายพลเดอ ลา ฟาแย็ต ซึ่งผ่านสงครามปฏิวัติอเมริกามาแล้ว เมื่อพระเจ้าหลุยส์เห็นว่าทหารต่างชาติไม่สามารถรักษาความสงบไว้ได้ ก็ทรงปลดประจำการทหารเหล่านั้น[ต้องการอ้างอิง]

ผลของการปฏิวัติในช่วงแรกแก้ไข

การยุติเอกสิทธิแก้ไข

สมัชชาแห่งชาติประกาศว่าประชาชนทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน และเลิกเอกสิทธิการงดเว้นภาษีของนักบวช รวมทั้งให้ทุกคนมีโอกาสเท่าเทียมในการประกอบอาชีพ ภายหลังจากการลงมติของสภาฯ ไม่กี่วันก่อนหน้านี้ คือวันที่ 3-4 สิงหาคม ค.ศ. 1789 ซึ่งได้รับมติสนับสนุนอย่างท่วมท้นจากสมาชิกสภา

คำประกาศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมืองแก้ไข

เป็นคำประกาศที่ปูทางไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากปรัชญาในยุคเรืองปัญญา และคำประกาศนี้ได้แบบอย่างจากรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา คำประกาศนี้ผ่านการพิจารณาของสภาฯ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1789 มีเนื้อหาหลักแสดงถึงหลักการพื้นฐานของการปฏิวัติ ภายใต้คำขวัญที่ว่า "เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ"
ในขณะนั้นมีข่าวลือในหมู่ประชาชนว่าจะมีการยึดอำนาจคืนของฝ่ายนิยมระบอบเก่าเมื่อชาวปารีสรู้ข่าวก็มีการตื่นตัวกันขนานใหญ่ ดังนั้นประชาชนชาวปารีสซึ่งส่วนมากเป็นผู้หญิง ได้เดินขบวนไปยังพระราชวังแวร์ซายและเชิญพระเจ้าหลุยส์พร้อมทั้งราชวงศ์มาประทับในกรุงปารีส ในวันที่ 5-6 ตุลาคม ปีเดียวกัน โดยมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่อนุรักษนิยมตามเสด็จกลับกรุงปารีสด้วย
สำหรับสมัชชาแห่งชาติ ในขณะนั้นประกอบด้วยสมาชิกที่หัวก้าวหน้าเป็นส่วนมาก แต่มีภารกิจสำคัญอันดับแรกของสภาคือการดำรงสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้ ดังนั้นจึงยังไม่มีการโค่นล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ในขณะนั้น

การปฏิรูปครั้งใหญ่แก้ไข

รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของฝรั่งเศสมีผลบังคับใช้เมื่อปลายปี ค.ศ. 1789 ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังต่อไปนี้
  • ตำแหน่งต่าง ๆ ในราชการไม่สามารถตกทอดไปยังลูกหลาน
  • ยุบมณฑลต่าง ๆ, แบ่งประเทศออกเป็น 83 จังหวัด (départements)
  • ก่อตั้งศาลประชาชน
  • ปฏิรูปกฎหมายฝรั่งเศส
  • การเวนคืนที่ธรณีสงฆ์ แล้วนำมาค้ำประกันพันธบัตร ที่ออกเพื่อระดมทุนจากประชาชน มาแก้ไขปัญหาหนี้ของประเทศ

การปฏิรูปสถานะของนักบวชแก้ไข

นอกจากที่ธรณีสงฆ์จะถูกเวนคืนแล้ว การปกครองคริสตจักรในประเทศฝรั่งเศสก็ยังถูกเปลี่ยนแปลง ตามกฎหมายการปกครองคริสตจักรฉบับใหม่ที่ออกเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1790 โดยใช้การปกครองประเทศเป็นแม่แบบ คือกำหนดจำนวนมุขนายก (évêque) ไว้มุขมณฑลละ 1 ท่าน และให้เมืองใหญ่แต่ละเมืองมีอัครมุขนายก (archévêque) 1 ท่าน โดยมุขนายกและอัครมุขนายกแต่ละท่านจะถูกเลือกโดยสมัชชาแห่งชาติ และได้รับเงินเดือนจากรัฐบาล นอกจากนี้ ผู้ที่จะมาเป็นนักบวชในทุกระดับจะต้องสาบานตนว่าจะจงรักภักดีต่อประเทศอีกด้วย

การจับกุม ณ วาเรนน์แก้ไข

ดูบทความหลักที่: การเสด็จสู่วาเรนน์
มีข่าวลือสะพัดอย่างหนาหูว่า พระนางมารี อ็องตัวแน็ตนั้น ได้แอบติดต่อกับพระเชษฐา คือจักรพรรดิลีโอโพลด์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เพื่อจะให้ทรงยกทัพมาตีฝรั่งเศสและคืนอำนาจให้ราชวงศ์ ฝ่ายพระเจ้าหลุยส์นั้นไม่ได้ทรงพยายามหนีออกนอกประเทศหรือรับความช่วยเหลือ แต่จะทรงหนีไปตั้งมั่นอยู่กับนายพลบุยเล ที่จงรักภักดีและสัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือแก่พระองค์ พระองค์เสด็จออกจากพระราชวังตุยเลอรีส์ในคืนวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1791 แต่ทรงถูกจับได้ที่เมืองวาเรนน์ ในวันต่อมา ส่งผลให้ความเชื่อถือของประชาชนที่มีต่อพระองค์นั้นลดลงอย่างมาก พระองค์ถูกนำตัวกลับมากักบริเวณในกรุงปารีส

การสิ้นสุดของสภาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไข

แม้ว่าสมาชิกส่วนใหญ่ของสภาฯ จะนิยมระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มากกว่าระบอบสาธารณรัฐก็ตาม[ต้องการอ้างอิง] แต่ ณ ขณะนั้น พระเจ้าหลุยส์ก็ไม่ได้มีบทบาทมากไปกว่าหุ่นเชิด พระองค์ถูกบังคับให้ปฏิญาณตนต่อรัฐธรรมนูญ และให้ยอมรับเงื่อนไขที่ว่า หากกระทำการใด ๆ ที่จะชักนำให้กองทัพต่างชาติมาโจมตีฝรั่งเศส หรือกระทำสิ่งที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ให้ถือว่าพระองค์สละราชสมบัติโดยอัตโนมัติ
ขณะเดียวกันนั้น ฌัก ปีแยร์ บรีโซ ได้ร่างประกาศโจมตีพระเจ้าหลุยส์ มีสาระสำคัญว่า พระเจ้าหลุยส์ทรงสละราชสมบัติไปตั้งแต่พระองค์เสด็จออกจากพระราชวังตุยเลอรีแล้ว[ต้องการอ้างอิง] ฝูงชนจำนวนมากพยายามเข้ามาในช็องเดอมาร์สเพื่อลงนามในใบประกาศนั้น ทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้น สภาร่างรัฐธรรมนูญได้ขอร้องให้เทศบาลกรุงปารีสช่วยรักษาความสงบ แต่ไม่สำเร็จ ในที่สุด กองทหารองครักษ์ภายใต้การบัญชาการของเดอ ลา ฟาแย็ต ก็ได้เข้ามารักษาความสงบ ฝูงชนได้ปาก้อนหินใส่องครักษ์ในช่วงแรก องครักษ์โต้ตอบด้วยการยิงขึ้นฟ้า แต่ไม่สำเร็จ จึงจำต้องยิงปืนใส่ฝูงชน ทำให้ประชาชนตายไปประมาณ 50 คน[ต้องการอ้างอิง]
หลังจากการสังหารหมู่ครั้งนี้ ทางการก็ได้ดำเนินการปราบปรามพวกสมาคมนิยมสาธารณรัฐต่าง ๆ รวมทั้งหนังสือพิมพ์ของพวกนี้อีกด้วย เช่น หนังสือพิมพ์เพื่อนประชาชน (L'Ami du Peuple) ของฌ็อง-ปอล มารา บุคคลที่มีแนวคิดแบบนี้เช่นมาราและกามีย์ เดมูแล็ง ต่างพากันหลบซ่อน ส่วนฌอร์ฌ ด็องตง หนีไปอังกฤษ
ขณะที่ภายในฝรั่งเศสกำลังวุ่นวาย เหล่าราชวงศ์ของยุโรป โดยมีแกนนำคือพระมหากษัตริย์ปรัสเซีย จักรพรรดิออสเตรีย และพระอนุชาของพระเจ้าหลุยส์ก็ได้ร่วมมือกัน โดยมีเป้าหมายสำคัญคือให้พระเจ้าหลุยส์มีอิสรภาพสมบูรณ์และให้ยุบสมัชชาแห่งชาติ หากสิ่งเหล่านี้ไม่เกิดขึ้น ก็จะโจมตีฝรั่งเศสเพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมาย แต่ประชาชนชาวฝรั่งเศสไม่สนใจต่อคำประกาศดังกล่าว และเตรียมการต่อต้านอย่างแข็งขัน โดยส่งกำลังทหารไปยังชายแดน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โครงงาน เรื่อง ขนมไทยสาคูเปียก

วันสำคัญของฝรั่งเศส

อาหารประจำชาติฝรั่งเศส