COP24

COP24 จัดขึ้นที่เมืองคาโตวิตเซ เมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์ทางภาคใต้ของโปแลนด์ 
ระหว่างวันที่ 3-14 ธ.ค. ถือเป็นครั้งที่ 4 ที่โปแลนด์ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดประชุม...

ความพยายามมีส่วนร่วมแก้ปัญหาโลกร้อนอย่างจริงจังของรัฐบาลโปแลนด์น่าสนใจยิ่ง เพราะโปแลนด์คือชาติผู้ผลิตถ่านหินรายใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรป โปแลนด์อาศัยพลังงานถ่านหินใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงผู้คนในประเทศมากถึง 80 เปอร์เซ็นต์ จากเคยใช้ถ่านหินผลิตกระแสไฟฟ้ามากถึง 96 เปอร์เซ็นต์เมื่อช่วงปี 2533 เปรียบเทียบกับชาติสมาชิกทบวงพลังงานระหว่างประเทศอื่นๆพึ่งพาพลังงานไฟฟ้าจากถ่านหินมากเฉลี่ย 30 เปอร์เซ็นต์

เฉพาะแรงงานอุตสาหกรรมผลิตถ่านหินในโปแลนด์มีมากราว 90,000 คน หรือราวครึ่งหนึ่งของแรงงานอุตสาหกรรมผลิตถ่านหินทั่วทั้งสหภาพยุโรป รัฐบาลโปแลนด์ยอมรับอุตสาหกรรมผลิตถ่านหินในประเทศเสมือน “ทองคำสีดำ”


โลกรู้กันดีว่าปัญหาการเผาถ่านหินเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าเกี่ยวข้องส่งผลต่อการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ทำลายชั้นบรรยากาศโลกมากเกือบครึ่งหนึ่งของแหล่งอื่นๆ

เป้าหมายของกลุ่มชาติสหภาพยุโรป หรือ อียู ต้องการลดปล่อยก๊าซทำลายชั้นบรรยากาศโลกลงให้ได้อย่างน้อย 40 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2573 ทั้งตั้งเป้าเร่งลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเหลือ 0 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2593 แม้หลายฝ่ายเชื่อว่ายากยิ่งนักจะไปถึงเป้าหมายนั้น

ส่วนเป้าหมายรัฐบาลโปแลนด์ต้องการลดใช้ถ่านหินผลิตกระแสไฟฟ้าเหลือ 60 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2573 ตั้งเป้าเพิ่มการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้นให้ได้ถึงราว 30,000 เมกะวัตต์ภายในปี 2583 แม้ต้องลงทุนสูงเพื่อไปสู่เป้าหมายนั้น

ถือเป็นความเสียสละอย่างยิ่งของรัฐบาลโปแลนด์ต้องแลกความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจจากการลดพึ่งพาใช้ถ่านหิน ขณะที่ผู้นำชาติมหาอำนาจ “อเมริกามาก่อน” ยังไม่เชื่อด้วยซ้ำเรื่องโลกร้อนและผลกระทบจากการปล่อยก๊าซทำลายชั้นบรรยากาศโลก...

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โครงงาน เรื่อง ขนมไทยสาคูเปียก

วันสำคัญของฝรั่งเศส

อาหารประจำชาติฝรั่งเศส